Wisdom Care
WISDOM
เกี่ยวกับเรา
บริการของเรา
ข่าวและบทความ
ติดต่อเรา
ภาษา
เข้าสู่ระบบ

หน้าหลัก บทความ

รู้หรือไม่?1ตุลาคม คือวัน”วันผู้สูงอายุสากล”

วันผู้สูงอายุสากล (International Day of Older Persons) ตรงกับวันที่ 1 ต.ค.ของทุกปี โดยองค์การสหประชาชาติกำหนดขึ้นเป็นครั้งแรกในวันที่ 1 ต.ค.2534 องค์การสหประชาชาติได้ให้ความหมายคำว่า ผู้สูงอายุ คือ บุคคลที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไปทั้งชายและหญิง เพื่อแสดงให้เห็นถึงคุณค่าของผู้สูงอายุ ที่ได้สร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ให้กับสังคมตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยวันที่ 1 ตุลาคม 2559 องค์การอนามัยโลก ได้กำหนดแนวทางวันผู้สูงอายุสากล ปี 2016 คือ Take a Stand Against Ageism “ให้โอกาส และบทบาทที่สำคัญแก่ผู้สูงอายุ” ในประเทศไทยเริ่มเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุตั้งแต่ปี 2547 และจะเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ในปี 2567 หรืออีก 3 ปีข้างหน้า ขณะนี้กำลังอยู่ในช่วงการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged Society) โดยจากข้อมูลของ United Nations World Population Ageing พบว่า หลังจากปี 2552 ประชากรที่อยู่ในวัยพึ่งพิงได้แก่ เด็กและผู้สูงอายุ จะมีจำนวนมากกว่าประชากรในวัยแรงงาน และในปี 2560 เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่ประชากรเด็กน้อยกว่าผู้สูงอายุ สถานการณ์นี้เป็นผลมาจากการลดภาวะเจริญพันธุ์อย่างรวดเร็ว และการลดลงอย่างต่อเนื่องของระดับการตายของประชากร ทำให้จำนวนและสัดส่วนประชากรสูงอายุของไทย เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จากข้อมูลประชากรสูงอายุในประเทศไทย ปี 2557 มีผู้สูงอายุมีจำนวน 10,014,705 คน (ร้อยละ 14.9) มีผู้สูงอายุที่ยังคงทำงาน ร้อยละ 38.4 และจากข้อมูลการทำงานของผู้สูงอายุในประเทศไทย ปี 2558 มีผู้สูงอายุ ร้อยละ 15.6 ของจำนวนประชาการทั้งประเทศ โดยผู้สูงอายุ ร้อยละ 37.3 ยังคงทำงาน และมีความสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ อย่างไรก็ตาม ผู้สูงอายุที่คิดว่าตัวเองเป็นภาระให้กับผู้อื่นอาจจะรู้สึกว่าชีวิตของตนเองนั้นด้อยค่าตามไปด้วย ส่งผลให้พวกเขาเผชิญความเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้าและแยกตัวจากสังคม โดยผลวิจัยชี้ว่า ผู้สูงอายุที่มีทัศนคติต่อความชราภาพไปในเชิงลบจะมีอายุยืนยาวน้อยกว่าผู้สูงอายุที่มีทัศนคติต่อความชราภาพไปในเชิงบวกถึง7.5 ปี การเปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุได้มีโอกาสทำงาน ช่วยให้ผู้สูงอายุรู้สึกว่าตนเองยังมีค่า สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความสุข ปัจจุบันประชากร “วัยสูงอายุ” เพิ่มขึ้นทุกๆ ปี โดยองค์การสหประชาชาติได้คาดการณ์ว่า ในปี ค.ศ. 2025 (พ.ศ. 2568) จะมีประชากรที่อายุมากกว่า 60 ปี ถึง 1,200 ล้านคน ทั่วโลก และในปี ค.ศ. 2050 (พ.ศ. 2593) จะมีประชากรที่มีอายุมากกว่า 60 ปี ทั่วโลกถึงเกือบ 2,000 ล้านคนเลยทีเดียว ดังนั้น “วันผู้สูงอายุสากล” ถือเป็นวันสำคัญของผู้สูงอายุทั่วโลก เพราะแต่ละแห่งทั่วโลกจะได้จัดงานเฉลิมฉลองให้กับผู้สูงอายุ เพื่อแสดงให้เห็นถึงคุณค่าของผู้สูงอายุ ให้คนทั่วไปตระหนักว่า ชั่วชีวิตที่ผ่านมาผู้สูงอายุได้สร้างคุณประโยชน์ คุณงามความดีไว้มากมาย รวมทั้งสรรค์สร้างทุกๆ สิ่งมาให้กับสังคมตั้งแต่อดีตจวบจนถึงปัจจุบัน ในแต่ละประเทศทั่วโลก ล้วนให้ความสำคัญกับวัยสูงอายุเป็นอย่างมาก และมีการกำหนดวันเพื่อเฉลิมฉลอง และตระหนักถึงคุณงามความดีของผู้สูงอายุ อย่างเช่น “วันผู้สูงอายุแห่งชาติ” (National Grandparents Day) ของประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศแคนาดา ขณะที่ประเทศญี่ปุ่นก็มีวันให้ความเคารพต่อผู้สูงอายุเช่นกัน (Respect for the Aged Day) ซึ่งตรงกับวันจันทร์สัปดาห์ที่ 3 ของเดือนกันยายน ของทุกปี สำหรับในประเทศไทย ได้ตระหนักถึงคุณค่าของผู้สูงอายุเช่นกัน โดยรัฐบาล พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ได้กำหนดให้วันที่ 13 เม.ย. ของทุกปี ซึ่งถือเป็นวันสงกรานต์ และวันปีใหม่ของไทย เป็นวันผู้สูงอายุแห่งชาติ อีกสิ่งหนึ่งที่ถูกกำหนดขึ้น คือ “ดอกลำดวน” เป็นสัญลักษณ์แทนของผู้สูงอายุ โดยมีที่มาที่ไปเนื่องจากต้นลำดวนหรือหอมหวล (Melodorum fruticosum Lour) ตามชื่อไทยพื้นเมือง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Sphaerocoryne clavipes จัดอยู่ในวงศ์ Annonaceae เป็นพืชยืนต้นที่มีอยู่มากในสวนสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี คอยให้ความร่มเย็น ลำต้นของลำดวนมีอายุยืน มีใบเขียวตลอดปี ดอกสีเหลืองนวล กลิ่นหอมเย็น กลีบแข็งแรงไม่ร่วงง่าย เปรียบเหมือนกับผู้ทรงวัยวุฒิที่คงคุณธรรมคุณงามความดีให้กับลูกหลานไว้เป็นแบบอย่างสืบต่อไป เมื่อทราบความสำคัญของ “วันผู้สูงอายุ” แล้ว.. ขอให้ทบทวนว่า เราได้เอาใจใส่ต่อผู้สูงอายุแล้วหรือยัง อย่ารอช้า! รีบไปแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อท่านทันที แต่เดี๋ยวก่อนไม่ใช่ทำแค่วันนี้นะ ขอให้ทำทุกวันตลอดไป ขอบคุณ เครดิต : เดลินิวส์ 1 ตุลาคม 2564 https://www.dailynews.co.th/articles/330747/ ข้อมูลจาก กรมสุขภาพจิต...

การดูแลผู้สูงวัยที่ถูกต้องเป็นเรื่องที่สำคัญมากในการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีและมีความสุขสำหรับพวกเขา นี่คือวิธีการดูแลผู้สูงวัยที่ถูกต้อง

ไข้เลือดออกนั้นจัดเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเดงกิ ซึ่งมีอยู่ 4 สายพันธุ์ และสามารถแพร่ได้โดยมียุงลายเป็นพาหะ โดยมียุงลายเป็นพาหะ โดยลักษณะของโรคที่สำคัญคือ มีไข้สูง มีอาการเลือดออก และหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีก็อาจทำให้เกิดภาวะช็อกซึ่งอาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ จึงต้องมีการ ติดตาม เฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงของโรคอย่างใกล้ชิด และให้การรักษาอย่างถูกต้องเหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรายที่เกิดภาวะช็อก อาการไข้เลือดออก โดยปกติแล้วเราจะสามารถแบ่งอาการของไข้เลือดออกได้เป็น 3 ระยะ ดังนี้ 1.ระยะแรก สำหรับระยะแรกนี้เป็นระยะที่ผู้ป่วยจะมีไข้สูงประมาณ 5-7 วัน โดยอาจจะมีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ มีผื่นหรือจุดแดงตามร่างกาย แขน ขา บางรายอาจจะเบื่ออาหาร และมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนร่วมด้วย 2.ระยะวิกฤต ระยะนี้เป็นระยะที่ต้องระวังมากที่สุด ผู้ป่วยจะมีอาการเพลียและซึม ปัสสาวะออกน้อย มีอาการปวดท้องโดยเฉพาะบริเวณชายโครงขวา รวมถึงมีเลือดออกผิดปกติ เช่น เลือดกำเดาไหล อาเจียนเป็นเลือด หรืออุจจาระเป็นสีดำ ในระยะนี้ไข้จะเริ่มลดลง มือเท้าเย็น ความดันโลหิตต่ำ และอาจทำให้เกิดอาการช็อกจนเสียชีวิตได้ 3.ระยะฟื้นตัว ในระยะนี้เป็นระยะที่คนไข้เริ่มมีอาการดีขึ้น ความดันโลหิตเริ่มกลับมาคงที่ ปัสสาวะออกมาขึ้น เริ่มกลับมามีความอยากอาหารมากขึ้น อาการปวดท้อง ท้องอืดลดลง และรู้สึกมีเรี่ยวแรงมากขึ้น โดยระยะเวลาทั้งหมดของไข้เลือดออกนั้นจะอยู่ที่ประมาณ 7-10 วัน ข้อแนะนำในการดูแลผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก เบื้องต้นในการดูแลผู้ป่วยที่เป็นไข้เลือดออกขณะที่อยู่ที่บ้านสามารถทำได้ ดังนี้ • เช็ดตัวเพื่อลดไข้ โดยใช้ผ้าถูตัวชุบน้ำบิดหมาดๆ แล้วเริ่มเช็ดที่ใบหน้า คอ หลังหู จากนั้นจึงค่อยประคบตามซอกคอ รักแร้ ขาหนีบ ข้อพับต่าง ๆ • ดื่มน้ำมาก ๆ โดยในรายที่อาเจียนแนะนำให้จิบน้ำเกลือแร่เพื่อบรรเทาอาการอ่อนเพลียและให้ร่างกายไม่ขาดน้ำ • ให้ยาพาราเซตามอลเพื่อลดไข้ได้ แต่ห้ามใช้ยาลดไข้ที่มีส่วนผสมของแอสไพริน หรือ ibuprofen • ติดตามดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด หากมีอาการรุนแรง เช่น อาเจียน ปวดท้องบริเวณชายโครงขวามาก มีเลือดออกรุนแรง ตัวเย็น มือเท้าเย็น ไม่ปัสสาวะนานกว่า 6 ชั่วโมง หรือ ซึมลงและไม่ค่อยรู้สึกตัว ให้รีบพามาพบแพทย์ทันที อาการไข้เลือดออกมีวิธีรักษาอย่างไรบ้าง ในปัจจุบันยังไม่มียาที่สามารถรักษาหรือต้านเชื้อไวรัสเดงกีได้โดยตรง เพราะฉะนั้นการรักษาโรคไข้เลือดออกจึงเป็นการรักษาไปตามอาการที่ผู้ป่วยเป็น โดยสามารถให้ยาลดไข้ได้ โดยใช้พาราเซตามอลร่วมกับการเช็ดตัวลดไข้ แต่ห้ามใช้ยาลดไข้ประเภทอื่น เช่น ยาจำพวกแอสไพริน (aspirin) หรือ ibuprofen ซึ่งการพาผู้ป่วยเข้าพบแพทย์เพื่อรับการรักษาอย่างทันท่วงทีจะดีต่อผู้ป่วยมากที่สุด เพราะหากได้รับการวินิจฉัยโรคอย่างถูกต้องตั้งแต่ระยะแรก เมื่ออยู่ในระยะวิกฤตแพทย์ก็จะสามารถดูแลติดตามอาการได้อย่างใกล้ชิดเพื่อป้องกันภาวะช็อก วิธีป้องกันไข้เลือดออก เนื่องจากยังไม่มีวัคซีนที่สามารถรักษาอาการไข้เลือดได้โดยตรง เพราะฉะนั้นวิธีที่ดีที่สุดก็คือ การป้องกันตัวเองไม่ให้ได้รับเชื้อไวรัสเดงกี หรืออีกนัยหนึ่งก็คือการป้องกันตัวเองไม่ให้ถูกยุงลายกัดนั่นเอง ซึ่งเราสามารถป้องกันได้ดังนี้ 1. ป้องกันตัวเอง • สวมเสื้อผ้าที่มิดชิด • นอนในห้องที่มีมุ้งหรือมุ้งลวดเพื่อป้องกันไม่ให้ถูกยุงกัด • ใช้ยาทากันยุงชนิดทาผิว 2. กำจัดแหล่งพาหะ • ภาชนะเก็บน้ำต้องมีฝาปิดเสมอ • เปลี่ยนน้ำในแจกัน หรือกระถางทุก 7 วัน • ฉีดพ่นสารเคมีหรือยากันยุงเพื่อกำจัดยุงลายเต็มวัย 3. วัคซีนป้องกันไข้เลือดออก สำหรับการฉีดวัคซีนป้องกันไข้เลือดออกนี้แนะนำให้ฉีดในรายที่เคยเป็นไข้เลือดออกแล้วเพื่อป้องกันไม่ให้เป็นซ้ำ ซึ่งจะลดความรุนแรงและได้ผลดีกว่า สรุป โรคไข้เลือดออกนั้นสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย โดยมีระยะอาการทั้งหมด 3 ระยะ คือ ระยะแรก ระยะวิกฤต และระยะฟื้นตัว ซึ่งการดูแลผู้ป่วยนั้นควรดูแลอย่างใกล้ชิดเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการช็อก ในกรณีที่ผู้ป่วยเริ่มมีอาการรุนแรงขึ้นก็ควรรีบพามาพบแพทย์เพื่อจะเข้ารับการรักษาอย่างทันท่วงที

ช่วงเวลาแห่งความสุขของครอบครัว หากอยากจะพาผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านออกไปเปิดหูเปิดตาข้างนอกบ้าง จะพาผู้สูงอายุเที่ยวแบบไหนดี ที่จะถูกใจผู้หลักผู้ใหญ่ และสา

ช่วงเวลาแห่งความสุขของครอบครัว หากอยากจะพาผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านออกไปเปิดหูเปิดตาข้างนอกบ้าง จะพาผู้สูงอายุเที่ยวแบบไหนดี ที่จะถูกใจผู้หลักผู้ใหญ่ และสามารถเที่ยวด้วยกันพร้อมหน้าพร้อมตาทั้งครอบครัว ผู้สูงอายุก็สามารถเที่ยวได้แบบมีความสุข มาดูกันว่าจะพาผู้สูงอายุในบ้านของเราไปเที่ยวแบบไหนกันดี 1. เที่ยวไหว้พระ หากพูดถึงสถานที่เที่ยวสำหรับพาผู้สูงอายุเที่ยว คงหนีไม่พ้นการไปเที่ยวไหว้พระ เพราะเป็นสถานที่ที่เงียบสงบและผ่อนคลาย เหมาะแก่การพักผ่อนแบบไม่เร่งรีบ ไปไหว้พระขอพรเสริมสิริมงคลให้กับชีวิต และยิ่งไปกว่านั้น เดี๋ยวนี้มีวัดที่มีศิลปะอันงดงามอยู่หลายแห่ง อย่างในกรุงเทพฯ ก็มีวัดที่สวยงามอยู่มากมาย เช่นวัดพระแก้ว วัดอรุณฯ วัดโพธิ์ วัดราชบพิธ รวมถึงวัดอื่นๆ รอบกรุงรัตนโกสินทร์ที่อยู่ทั้งใจกลางกรุงเทพ และชานเมือง ก็มีมากมายหลายแห่ง หรือจะเป็นวัดดังในจังหวัดต่างๆ ก็มีความงดงามที่เป็นเอกลักษณ์ตามรูปแบบสถาปัตยกรรม ให้ผู้ใหญ่ท่านได้ชื่นชมกับความสวยความงามให้อิ่มเอมใจ เป็นการออกไปเที่ยวที่ได้ทั้งบุญและได้ความสุขกลับไป  2. เที่ยวย้อนวัยอดีตที่น่าจดจำ ผู้ใหญ่หรือผู้สูงอายุ อาจจะอยากไปเที่ยวย้อนวันวานในอดีต อยากไปรำลึกความหลังในสมัยก่อน ย้อนรอยความทรงจำดีๆ ในครั้งก่อนเก่าๆ ไปเที่ยวชมพระราชวังโบราณ สถาปัตยกรรมอันทรงคุณค่าทั้งในกรุงเทพ ชานเมืองหรือจังหวัดใกล้ๆ ที่ยังคงวิถีผู้คนที่ยังคงอนุรักษ์วิถีดั้งเดิมเอาไว้ เช่น ตึกแถวเก่าๆ ตลาดดั้งเดิม หรืออาคารโบราณในย่านพระนคร หรือชุมชนเก่าแก่ในเยาวราช ตลาดน้อย ไปเดินตลาดโบราณที่มีอยู่หลายแห่งในประเทศไทย เช่นตลาดน้ำคลองอัมพวา ตลาดน้ำคลองดำเนินสะดวก ตลาดสามชุก100ปี เป็นต้น ให้ท่านได้มีโอกาสได้ระลึกถึงความหลังในครั้งก่อน ดึงความสุขความทรงจำในวันวานกลับคืนมาอีกครั้ง ทำให้สดชื่นและมีความสุขได้เสมอ 3. เที่ยวผ่อนคลายไปกับธรรมชาติ ไปหาที่เที่ยวแบบเรียบๆ ง่ายๆ ใช้ชีวิตช้าๆ เที่ยวผ่อนคลายไปกับธรรมชาติ ไปสูดอากาศบริสุทธิ์กับภูเขา ต้นไม้เขียวขจี ท้องฟ้าสดใส ดอกไม้หลากสีสันที่เพิ่มความสดชื่นสดใส หรือจะเป็นน้ำทะเลสีฟ้าครามที่กว้างไกลสุดสายตา ให้ท่านได้นั่งเล่นเดินเล่น ดื่มด่ำไปกับธรรมชาติ อย่างมีความสุข ได้ใช้ช่วงเวลาแห่งการพักผ่อนนี้ผ่อนคลายได้อย่างเต็มที่แบบไม่ต้องมีอะไรมารบกวน จะได้ความสดชื่นสดใสกลับบ้านไปเต็มที่ 4. เที่ยวหาของอร่อยๆที่มีคุณค่า อาหารเดิมๆ ไม่ว่าจะทานที่บ้าน หรือที่ใดๆที่ทานอยู่ทุกวันท่านอาจจะทำให้ผู้สูงวัยเบื่อได้ ถ้าเราได้พาไปเที่ยวหาของอร่อยๆทาน และทานร่วมกันกับคนในครอบครัว หรือเพื่อนฝูง เลือกเมนูอาหารใหม่ๆ มาให้ได้ลองลิ้มชิมรส ซึ่งก็มีอาหารหลากหลายแบบหลากหลายสไตล์ เช่น อาหารแบบโบราณ อาหารท้องถิ่น เช่นอาหารเหนือ อาหารอีสาน หรืออาหารนานาชาติให้ลองลิ้มรสชาติใหม่ๆ ดูบ้าง แต่อย่างไรก็ตาม ก็ต้องดูด้วยว่าเมนูอาหารที่เลือกให้ทานนั้นเหมาะกับผู้สูงอายุหรือไม่ เช่น ไม่เผ็ดหรือไม่รสจัดจนเกินไป ไม่เป็นของแสลงหรือทำให้เสาะท้องได้ ไม่มีปัญหากับสุขภาพของผู้รับประทาน ก็จะทำให้ท่านจะได้มีความสุขกับการรับประทานมากยิ่งขึ้น

สารอาหารที่ผู้สูงอายุควรได้รับในแต่ละวันมีอะไรบ้าง ?

สารอาหารที่ผู้สูงอายุควรได้รับในแต่ละวันมีอะไรบ้าง ? จากข้อมูลของ WHO ได้แสดงให้เห็นว่าโดยปกติผู้สูงอายุไม่ควรได้รับสารอาหารมากกว่าวันละ 1,850 กิโลแคลอรีสำหรับเพศหญิง และไม่เกิน 2,250 กิโลแคลอรีสำหรับเพศชาย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับกิจกรรมที่ทำในแต่ละวันและความต้องการในแต่ละบุคคลด้วย สารอาหารที่จำเป็นต่อผู้สูงอายุในแต่ละวัน ได้แก่ - โปรตีน ผู้สูงอายุควรได้รับโปรตีนใกล้เคียงกับช่วงหนุ่มสาว ได้แก่โปรตีน 1 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ทั้งจากพืชและสัตว์ - ไขมัน เป็นสารอาหารที่ควรระมัดระวัง เพราะเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดคอเลสเตอรอลในเลือดสูงกว่าปกติได้ ดังนั้นผู้สูงอายุจึงไม่ควรได้รับไขมันเกินร้อยละ 30 ของพลังงานทั้งหมด - คาร์โบไฮเดรตที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุจะต้องไม่เกินร้อยละ 55 จากพลังงานทั้งหมด และควรเป็นคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนซึ่งได้มาจากธัญพืชไม่ขัดสี อย่างเช่นโฮลวีทและข้าวกล้อง - วิตามินและเกลือแร่ เป็นอีกหนึ่งสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายของผู้สูงอายุ ถ้าหากไม่สามารถจัดหาอาหารที่มีวิตามินครบถ้วนได้ อาหารเสริมสำหรับผู้สูงอายุถือว่าเป็นหนึ่งในตัวช่วยที่สำคัญ อาหารเสริมสำหรับผู้สูงอายุที่จะช่วยเพิ่มสารอาหารให้ผู้สูงอายุได้ทุกวัน - อาหารเสริมช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกัน เพราะระบบภูมิคุ้มกันในผู้สูงอายุนั้นมักจะน้อยลงกว่าเดิม ทำให้ผู้สูงอายุ จำเป็นต้องมีอาหารเสริมที่ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันให้สามารถทำงานได้ดีมากยิ่งขึ้น ด้วยส่วนผสมจากสารต่างๆที่มีคุณค่าทางโภชนาการ ซึ่งสารอาหารต่างๆเหล่านี้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของเม็ดเลือดขาว ส่งผลให้ร่างกายสามารถต่อสู้กับไวรัส เชื้อโรคและแบคทีเรียต่าง ๆ ได้ดี อีกทั้งยังช่วยเพิ่มสารอาหารอย่าง Zinc วิตามินเอและกรดอะมิโนให้กับร่างกายอีกด้วย - อาหารเสริมวิตามินซี  ในส่วนของวิตามินซีเอง ก็เป็นอีกหนึ่งวิตามินที่มีความสำคัญกับร่างกายไม่แพ้วิตามินอื่นๆ เลยทีเดียว แต่เนื่องจากร่างกายคนเรานั้นไม่สามารถผลิตหรือสร้างวิตามินซีขึ้นมาได้ด้วยตัวเอง ทำให้ต้องรับวิตามินซีผ่านการรับประทานเท่านั้น ผู้สูงอายุควรได้รับวิตามินซีที่มีความเป็นกรดน้อย ไม่ระคายเคืองกับกระเพาะอาหาร ช่วยบำรุงร่างกายให้ห่างไกลจากหลากหลายโรคและอาการ ไม่ว่าจะเป็นไข้หวัด ป้องกันเลือดออกตามไรฟัน ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ป้องกันไขมันอุดตันในเส้นเลือดและช่วยซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่เสื่อมสภาพ ดังนั้น การให้วิตามันซี จึงเป็นอีกหนึ่งอาหารเสริมสำหรับผู้สูงอายุ ที่เควร้รับประทานควบคู่กับ สารอาหารอื่นๆ หรือรับประทานแยกเพื่อเสริมวิตามินซีให้กับร่างกาย - อาหารเสริมที่ดูแลสุขภาพข้อเข่าในผู้สูงอายุ หนึ่งในปัญหาด้านสุขภาพที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุก็คือ เรื่องของข้อเข่าและข้อต่อต่าง ๆ ในร่างกาย นั่นก็เพราะว่าเมื่อมีอายุมากขึ้น ร่างกายจะทำการซ่อมแซมกระดูกอ่อนบริเวณข้อได้ไม่ทันกับการเสื่อมของข้อ จึงทำให้ผู้สูงอายุในไทยจำนวนมากพบกับปัญหาข้อเข่าเสื่อมหรืออักเสบ ซึ่งอาหารเสริมสำหรับผู้สูงอายุที่จำเป็นต่อข้อเข่า จึงเป็นหนึ่งในอาหารเสริมที่ช่วยลดอาหารข้อเข่าเสื่อมได้ พร้อมทั้งกระตุ้นการสร้างคอลลาเจน Type 2 ให้กับร่างกาย เพิ่มน้ำไขข้อให้มากยิ่งขึ้น ด้วยการกระตุ้นให้ร่างกายสร้าง Hyaluronic acid ช่วยลดแรงกระแทกบริเวณกระดูกข้อต่อได้ดี และช่วยชะลอการแคบลงของช่องว่างบริเวณข้อเข่า

ฝากข้อความติดต่อกลับ

ฝากข้อความติดต่อกลับ


Wisdom Care

บริษัท วิสดอม คอร์ปอเรชั่น จำกัด เลขที่ 110/14 หมู่ 5 ซอยคลองมะเดื่อ 13 ถนนเศรษฐกิจ 1 ตำบลคลองมะเดื่อ อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร 74110

   099-224-7944

              

Wisdom Care

บริษัท วิสดอม คอร์ปอเรชั่น จำกัด เลขที่ 110/14 หมู่ 5 ซอยคลองมะเดื่อ 13 ถนนเศรษฐกิจ 1 ตำบลคลองมะเดื่อ อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร 74110

   099-224-7944

              

Copyrights © 2025 All Rights Reserved. wisdomcarethai.com Version 1.0. Designed by WEBBEEDEV.COM +58,151 Times.